วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การโคลนนิ่งพืช
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(Plant  Tissue  Culture) 
ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช               
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเริ่มต้นในปี ค..1902  โดย Haberlandt  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการแยกเซลล์พืชมาเลี้ยง  เพื่อจะทำการศึกษาคุณสมบัติของเซลล์  แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จจนถึงระดับเซลล์มีการแบ่งตัว  เพียงแต่พบว่าเซลล์มีการขยายขนาดขึ้นเท่านั้น  ในปี ค..1930  ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงเซลล์ที่แยกมาจากรากของพืชหลายชนิดโดยเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ  ต่อมาในปี ค.. 1938  สามารถเพาะเลี้ยงอวัยวะ( Organ ) และ แคลลัส ( Callus ) ของพืชได้หลายชนิดและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้มีการพัฒนาไปได้อย่างกว้างขวาง และมีการค้นพบเทคนิคใหม่ๆอีกมากมาย ซึ่งสามารถทำการเพาะเลี้ยงพืชเซลล์เดี่ยวๆและโปรโตพลาสต์ของพืชได้หลายชนิด  รวมทั้งการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การตัดต่อยีนส์  การถ่ายยีนส์ ฯลฯ เทคนิค การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงมีบทบาทสำคัญต่อวิทยาการแขนงอื่นๆ เช่น ชีวเคมี  พันธุศาสตร์  การปรับปรุงพันธุ์พืช  โรคพืช  และเภสัชศาสตร์ เป็นต้น 
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คืออะไร                คือการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น อวัยวะ  เนื้อเยื่อ  และเซลล์มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์  ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ  น้ำตาล  ไวตามินและสารควบคลุมการเจริญเติบโต  ในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์  โดยมีการควบคุมสภาพแวดล้อม  เช่น อุณหภูมิ  แสง และความชื้น  ส่วนต่างๆของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่  โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษของเซลล์พืชที่สามรถเจริญเติบโต  พัฒนาไปเป็นต้นใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า โคลนนิ่ง 
ประโยชน์ของ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช               
1.เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว  โดยอาศัยอาหารสูตรที่สามารถเพิ่มจำนวนต้นเป็นทวีคูณ               
2.เพื่อเป็นการผลิตพืชที่ปราศจากโรค  ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  เชื้อรา และเชื้อไวรัส  เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจะใช้ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญที่อยู่ที่บริเวณปลายยอดของลำต้นและเนื้อเยื่อคัพภะ (Embryo) ซึ่งถือว่าปลอดจากเชื้อไวรัสมากที่สุด               
3.เพื่อเป้นการปรับปรุงพันธุ์พืช  โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ แล้วคัดเลือกเอาสารพันธุ์ที่ดีไว้  ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สารเคมี  การฉายรังสี  การติดต่อยีนส์  และการย้ายยีนส์               
4.เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน  โดยการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีเงื่อนไขต่างๆ  เช่น การสร้างพันธุ์ต้านทานต่อสารพิษของโรค  ต้านทานต่อแมลง  ต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช ฯลฯ               
5.เพื่อการผลิตพันธุ์พืชทนทาน  โดยการคัดสายพันธุ์ทนทานจากการจัดเงื่อนไขของอาหารและสภาวะแวดล้อม  เช่น การคัดสายพันธุ์พืชทนเค็ม  สายพันธุ์ทนต่อดินเปรี้ยว  เป็นต้น               
6.เพื่อการผลิตยาและสารเคมีจากพืช  พืชบางชนิดมีคุณสมบัติทางยาแต่บางครั้งปริมาณยาที่สกัดอยู่ในเนื้อสารมีปริมาณน้อย  จึงต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมและอาหารที่เหมาะสม ก็อาจชักนำให้เกิดการสังเคราะห์สารที่เราต้องการได้มากขึ้น               
7.เพื่อการศึกษาทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของพืช               
8.เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืช  ซึ่งปัจจุบันนี้มีพืชหลายชนิดสูญพันธุ์ไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง  วิธีการเก็บรักษาพืชพรรณต่างๆ ไว้ในหลอดทดลองจะทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก  ทำให้ประหยัดเวลา  แรงงาน และอาหาร  จนกว่าเมื่อใดเราต้องการพืชชนิดนั้นๆจึงนำมาขยายเพิ่มจำนวนได้ 
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นตอน               
1.การเตรียมอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ซึ่งประกอบด้วย  สารกลุ่มอนินทรีย์ และสารกลุ่มอินทรีย์               
2.การคัดเลือกเนื้อเยื่อพืช  การเลือกเนื้อเยื่อที่ดีได้ส่วนที่ถูกต้องจะทำให้เกิดการฟอกฆ่าเชื้อและการชักนำให้เกิดต้นประสบความสำเร็จสูง
3.การฟอกฆ่าเชื้อ  เป็นการทำให้ชิ้นส่วนของพืชปลอดเชื้อ  โดยการใช้สารเคมี  ได้แก่ยาระงับเชื้อ และยาทำลายเชื้อ  ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ส่วนประกอบที่สำคัญของจุลินทรีย์เสียไป ก่อนที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในอาหาร
4.การขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน  ต้นพืชที่ได้จากการชักนำให้เกิดต้นจะมีความเยาว์วัย ( juveniliti )  สามารถที่จะชักนำให้เกิดต้นจำนวนมากได้ง่าย  โดยทำการเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน
5.การชักนำรากพืช  ต้นพืชที่ได้จากการเพิ่มจำนวนต้นสามารถชักนำให้เกิดรากในอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน  ซึ่งจะส่งเสริมการเกิดรากและยับยั้งการเกิดยอด6.การย้ายออกปลูก  ซึ่งต้องการปรับสภาพของต้นพืชให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมภายนอกประมาณ 2-4 สัปดาห์  จะทำให้ลดเปอร์เซนต์ของการตายของต้นพืชเนื่องจากการย้ายปลูก

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน
การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
  • หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
  • หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เวียง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
  • เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย
ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

พระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก โดยเป็นพระโอรสในพระเจ้าสามพระยา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร" มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษฐิระ" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์ อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2031 เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 40 ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา และเป็นลำดับ 3 ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20 ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล